การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่โรคตับแข็ง แต่หลายคนอาจตั้งคำถามว่า บางคนดื่มจัดตลอดชีวิตแต่ไม่เคยเป็นตับแข็ง? เรื่องนี้สามารถอธิบายได้จากหลายปัจจัย
(http://www.rophekathailand.com/wp-content/uploads/2025/04/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2.png)
1. กรรมพันธุ์มีผล
- พันธุกรรมของแต่ละคนส่งผลต่อความสามารถในการเผาผลาญแอลกอฮอล์
- คนที่ตับสามารถสลายแอลกอฮอล์ได้รวดเร็ว อาจสลายพิษจากแอลกอฮอล์ได้เร็วกว่าคนทั่วไป
2. ระบบการฟื้นฟูตับแตกต่างกัน
- ตับสามารถซ่อมตัวเองได้ดีในบางราย
- แม้จะมีการทำลายจากแอลกอฮอล์ แต่ร่างกายก็เยียวยาได้ทัน ทำให้อาการไม่รุนแรงหรือยังไม่แสดงออกชัดเจน
3. โภชนาการส่งผลต่อสุขภาพตับ
- บางคนที่แม้บริโภคแอลกอฮอล์ต่อเนื่อง แต่ยังดูแลเรื่องอาหารได้ดี เช่น อาหารสด ผัก ผลไม้ อาจช่วยชะลอการเสื่อมของตับ
4. ระยะเวลาและปริมาณที่แท้จริง
- แม้จะดูเหมือนเป็นนักดื่มประจำ แต่บางคนอาจไม่ได้ดื่มในปริมาณที่มากพอจะทำลายตับอย่างรวดเร็ว
- หรือเพิ่งดื่มหนักมาไม่นาน ยังไม่ถึงเวลาที่ตับจะเสียหายจนแสดงอาการออกมา
5. โรคตับแข็ง (https://www.rophekathailand.com/post/l/hepheka/cirrhosis)อาจแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว
- ตับสามารถทำงานได้แม้ถูกทำลายไปมาก
- อาจเสียหายไปกว่า 70% แล้วแต่ยังไม่มีอาการเด่นชัด คนที่ดูเหมือนไม่มีปัญหา อาจจริง ๆ แล้วมีค่าตับผิดปกติแต่ไม่เคยตรวจ
แม้บางรายอาจไม่แสดงอาการผิดปกติของตับ แต่ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย การบริโภคสุราเป็นประจำ ยังคงเพิ่มความเสี่ยงโรคร้าย ทั้งตับอักเสบ ทางที่ดีที่สุดคือตรวจสุขภาพตับอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อโรคแสดงอาการแล้ว การรักษาจะยากกว่าการป้องกันมากนัก